วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

โครงสร้างและปัจจัยประกอบของการจัดการความรู้



1. บุคลาการในองค์กร คือ ผู้ปฏิบติงานตามหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานหรือในองค์กร เช่นพนักงานตามบริษัทต่างๆ ที่ทำงานก็คือ บุคลากรในองค์กร

2. การจัดการในองค์กร คือ การกำหนดโครงสร้างขององค์กรอย่างเป็นทางการ โดยการจัดแบ่งออกเป็นหน่วยงานย่อย ๆ ต่าง ๆ กำหนดอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานไวให้ชัดเจน รวมทั้งความสัมพันธ์ของหน่วยงานย่อยเหล่านั้น ทั้งนี้เพื่อให้เอื้อต่อการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายวัตถุประสงค์ของ องค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การแบ่งงานตามหน้าที่หรือหน่วยงานต่างๆ จะทำให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการ

3. พื้นฐานทางกายภาพและเทคโนโลยี คือ การนำสิ่งที่อยู่รอบตัวของเรามาใช้ในการจัดการความรู้ในด้านเทคโนโลยี เช่น การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการความรู้ที่อยู่รอบตัวเรา

4. ข้อมูลข่าวสารและความรู้ต่างๆ คือ การนำความรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ โดยมีการกำหนดข้อมูลข่าวสารขึ้นมา เพื่อนำข้อมูลข่าวสารไปเผยแพร่ให้ความรู้กับผู้อื่น เช่น การแลกเปลี่ยนข่าวสาร ข้อมูลและความรู้ต่างๆให้กับผู้อื่น

วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ระดับความรู้



ความรู้เชิงทฤษฏี (Know-What) คือ เป็นความรู้เชิงข้อเท็จจริง รู้อะไร เป็นอะไร จะพบในผู้ที่สำเร็จการศึกษามาใหม่ๆ ที่มีความรู้โดยเฉพาะความรูที่จำมาได้จากความรู้ชัดแจ้งซึ่งได้จากการได้ เรียนมาก แต่เวลาทำงาน ก็จะไม่มั่นใจ
ตัวอย่าง การที่เราเรียนจบปริญญา เราจะต้องไปทำงาน ซึ่งตอนทำงานเราอาจไม่มั่นใจ เราจึงจะต้องปรึกษารุ่นพี่

ความรู้เชิงทฤษฏีและเชิงบริบท(Know-How) คือ เป็นความรู้เชื่อมโยงกับโลกของความเป็นจริง ภายใต้สภาพความเป็นจริงที่ซับซ้อนสามารถนำเอาความรู้ชัดแจ้งที่ได้มา ประยุกต์ใช้ตามบริบทของตนเองได้ตัวอย่าง พอเราทำงานไปนานๆ เราจะมีทักษะในการทำงานหรือประสบการณ์มากขึ้น

ความรู้ในระดับที่อธิบายเหตุผล (Know-Why) คือ เป็นความรู้เชิงเหตุผลระหว่างเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆ ผลของประสบการณ์แก้ปัญหาที่ซับซ้อน และนำประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น
ตัวอย่าง พอเราทำงานมาระยะหนึ่งแล้ว เราสามารถแลกเปลี่ยนความรู้ความสามารถกับผู้อื่นได้ และพร้อมรับความรู้ของผู้อื่นด้วย

ความรู้ในระดับคุณค่า ความเชื่อ (Care-Why) คือ เป็นความรู้ในลักษณะของความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ที่ขับดันมาจากภายในตนเองจะเป็นผู้ที่สามารถสกัด ประมวล วิเคราะห์ความรู้ที่ตนเองมีอยู่ กับความรู้ที่ตนเองได้รับมาสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมาได้
ตัวอย่าง พอเราทำงานจนชำนาญแล้ว เราสามารถสร้างทฤษฏีใหม่หรือนวัตกรรม ขึ้นมาใช้ในการทำงานได้

วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553

กลยุทธการจัดการความรู้


กลยุทธการจัดการความรู้


“การจัดการ” ใน การจัดการความรู้ หมายถึง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับสภาพแวดล้อมว่าองค์กรมีความสามารถในการดำรงและ ตอบโต้ได้อย่างไร ความรู้เป็นทรัพยากรที่มีค่ายิ่งขององค์กร องค์กรที่เห็นความสำคัญของความรู้จะสร้างความรู้ที่เป็นเอกลักษณ์ ยากต่อการเลียนแบบและสามารถนำมาใช้ให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันที่ ยั่งยืน การสร้าง เก็บรักษา และยกระดับความรู้จะช่วยให้องค์กรมีความสำเร็จมากขึ้น

ความแตกต่างระหว่าง Data, Information, Knowledge
.......Data คือข้อเท็จจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง สามารถนำมาจัดหมวดหมู่และกระจายเผยแพร่โดยไม่ต้องคำนึงถึงบริบทหรือผู้ใช้


.......Information จะตรงกันข้ามกับ Data เพราะ Information จะคำนึงถึงบริบท Information อาจเป็น message หรือข่าวคราวซึ่งเป็นผลมาจากการนำ Data มาตีความ Information จึงเป็นเรื่องที่ผู้รับสามารถทำความเข้าใจและมีความหมายสำหรับผู้ใช้


.........Knowledge หรือความรู้ เกิดจากกระบวนการที่บุคคลนำ Information มาไตร่ตรอง ความรู้จึงเป็นสิ่งที่ต้องมีบุคคล ความเชื่อ และประสบการณ์ของบุคคลเป็นบริบท ความรู้จึงเป็นความสามารถที่บุคคลจะนำ Information มาประเมินและนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ความรู้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มถ้านำไปใช้ปฏิบัติ


ประเภทของความรู้


........Tacit Knowledge
คือ ความรู้เฉพาะของบุคคล ผูกติดอยู่กับตัวบุคคล เป็นการยากที่จะทำให้เป็นแบบเป็นแผนและสื่อสารออกไป ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ที่ที่จะแยก จัดเก็บ และขุดความรู้ทั้งหมดทั้งสิ้นที่มีอยู่ในบุคคลใดบุคคลหนึ่ง


........Explicit Knowledge
คือความรู้ที่สามารถจัดหมวดหมู่ รวบรวม จัดเก็บและกระจายเผยแพร่ออกไปได้ ไม่ผูกติดอยู่กับตัวบุคคลและมีลักษณะคล้ายจะกลายเป็น Data ความรู้ที่เรียกว่า Explicit Knowledge นี้มีรากฐานมาจาก Tacit Knowledge และถูกสร้างขึ้นโดยอาศัยกระบวนการถ่ายทอดส่วนหนึ่งของ Tacit Knowledge ที่อยู่ภายในบุคคลให้ออกมาอยู่ภายนอก ให้พอสามารถอธิบายได้ว่ามันคืออะไรแม้จะไม่ใช่ทั้งหมดขององค์ความรู้ที่มีอยู่ก็ตาม


กลยุทธ์การจัดการความรู้


.......มีกลยุทธ์ที่สำคัญในการนำ Tacit Knowledge และ Explicit Knowledge มาแบ่งปันกันอยู่สองกลยุทธ์ คือ


........Codification Strategy
มีวัตถุประสงค์ที่จะรวบรวมความรู้ จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูล และนำออกใช้อย่างเป็นหมวดหมู่ในรูปที่เป็น Explicit Knowledge ซึ่งการนำ Explicit Knowledge มา ใช้ซ้ำผ่านกระบวนการจัดการเช่นนี้จะสามารถประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย การออกแบบฐานข้อมูล การบริหารงานเอกสาร และสายการจัดการเพื่อการใช้ข้อมูล จัดเป็นส่วนหนึ่งของ Codification Strategy ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสำหรับองค์กรที่กลยุทธ์ทางธุรกิจมีความต้องการใช้ซ้ำความรู้ที่มีอยู่


........Personalization Strategy
เน้นที่การนำ IT มา ช่วยบุคคลสื่อสารความรู้ระหว่างกัน มีวัตถุประสงค์ที่จะถ่ายโอน สื่อสาร และแลกเปลี่ยนความรู้ผ่านเครือข่ายความรู้เช่นการอภิปราย หากองค์กรใดมีกลยุทธ์ทางธุรกิจที่จะสร้างคำตอบใหม่ๆหรือเป็นการเฉพาะให้กับ ลูกค้าหรือเป็นการสร้างนวัตกรรม องค์กรนั้นควรเลือกกลยุทธ์การจัดการความรู้ประเภท Personalization Strategy มากกว่า Codification Strategy


ตัวอย่างกลยุทธการจัดการความรู้


1. บางบริษัทที่มีวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงประสิทธิภาพในกระบวนการทำงานจะใช้ Codification Strategy เป็นหลัก ขณะเดียวกันก็ใช้การปรึกษาหารือหรือคุยข่าว (newsgroup) เป็นช่องทางให้พนักงานได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้และผลงานของตนกันได้โดยตรง เช่น การรวบรวมความรู้ จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูล และนำออกใช้อย่างเป็นหมวดหมู่ในรูปที่เป็น Explicit Knowledge

2.บางบริษัท ที่ต้องการใช้การจัดการความรู้เป็นฐานในกระบวนการจัดการนวัตกรรม ได้กระตุ้นการสร้างสรรและการแลกเปลี่ยนความรู้ให้เกิดขึ้นด้วยการส่งเสริม ให้บุคคลากรมีการสื่อสารและร่วมมือกัน เช่น การใช้ e-mail การใช้สื่อประเภท TV หรือ Video conference


3.บางบริษัท ที่ใช้การจัดการความรู้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการทำงาน จะใช้ฐานข้อมูลและระบบจัดการข้อมูลเพื่อการเผยแพร่หรือกระจายผลการทำงานจะใช้ เช่นKnowledge Database, Data Warehouse และ Document Management เป็นเทคโนโลยีหลัก

วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ความหมายของ ภาษา VB


ชอบ เพราะเราใช้ภาษา VB ในการเขียนProject

วิชวลเบสิกดอทเน็ต (Visual Basic.NET) คือ เครื่องมือสำหรับพัฒนาโปรแกรมเป็นภาษาหนึ่งในกลุ่มไมโครซอฟท์วิชวลสตูดิโอ ดอทเน็ต (Microsoft Visual Studio .NET) เป็นการโปรแกรมที่มีสภาพแวดล้อมแบบกราฟิกสำหรับระบบปฏิบัติการวินโดว์ (Windows Operating System) โดยมีรากฐานภาษามาจากภาษาเบสิก และทำงานบนดอทเน็ตเฟรมเวิร์ค (Dotnet Framework) ถูกออกแบบให้มีความสามารถในการพัฒนาโปรแกรมเชิงวัตถุอย่างแท้จริง และรองรับการออกแบบด้วย ยูเอ็มแอล (UML = Unified Modeling Language)

ตัวอย่างการเขียน



โปรแกรมภาษา Visual Basic

เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการพัฒนา Application บนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ทำได้โดยง่ายแม้มิใช่โปรแกรมเมอร์ก็สามารถสร้างโปรแกรมได้ในเวลาอันรวดเร็ว
จุดเด่นของ VB
มีโครงสร้างใกล้เคียงภาษามนุษย์ทำให้เรียนรู้ได้ง่าย
มีเครื่องมือในการพัฒนา Application จำนวนมาก
สามารถสร้างไฟล์ .EXE ที่สามารถทำงานได้ด้วยตัวเอง
ออกแบบการติดต่อกับผู้ใช้(ฟอร์ม) ได้ทันที
พัฒนา Application ได้หลายแบบ เช่น โปรแกรมด้านธุรกิจ ด้านอินเตอร์เน็ต และ Web Application
หลักการพัฒนา Application ด้วย VB
1.เน้นการออกแบบส่วนการติดต่อกับผู้ใช้ แล้วค่อยเขียนโปรแกรมตามเหตุการณ์
2.ส่วนประกอบต่าง ๆ ใน Application ที่กำลังพัฒนา เรียกว่า วัตถุ (Object)
3.วัตถุ มีคุณสมบัติ ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนได้
4.Method ความสามารถที่กระทำกับวัตถุ จะกระทำโดยคำสั่งในโปรแกรมเท่านั้น
5. การเขียนรหัสโปรแกรมฝังไว้ใน Object และจะทำงานได้ก็ต่อเมื่อเกิดเหตุการณ์ณ์กับ Object ตามที่โปรแกรมเมอร์กำหนดไว้ (Event-Driven)

ชนิดและรายละเอียดของตัวแปร
1. ข้อมูลชนิด Byte (1Byte) เก็บค่าตัวเลขระหว่าง 0 – 255 เช่น Dim Old As Byte
2. ข้อมูลชนิด Integer (2 Byte) เก็บค่าตัวเลขระหว่าง -32,768 ถึง +32,767 นิยมใช้เก็บตัวเลขจำนวนเต็ม ไม่มีจุดทศนิยม และมีค่าลบได้ เช่น Dim NumInt As Integer
3. ข้อมูลชนิด Long (4 Byte) เก็บค่าตัวเลขระหว่าง -2,147,483,648 ถึง +2,147,483,647
นิยมใช้เก็บตัวเลขที่มีค่ามาก ๆ เช่น จำนวนประชากร
เช่น Dim AmountPeople As Long
4. ข้อมูลชนิด Currency , Single , Double
เช่น Dim Budjet As Currency
Dim Budjet As Single
Dim Budjet As Double
5. ข้อมูลชนิด String ใช้เก็บข้อมูลที่เป็นอักษรข้อความ เช่น Dim Name As String
6. ข้อมูลชนิด Bolean เก็บข้อมูลในรูปแบบ ตรรกะ คือ True(จริง) และ False (เท็จ) นิยมใช้เก็บค่าเพื่อทดสอบทางเงื่อนไข
เช่น Dim Found As Boolean
7. ข้อมูลชนิด Date ใช้เก็บข้อมูลในรูปแบบวันที่ นิยมใช้ในการเก็บวันที่
เช่น Dim BirthDay As Date
8. ข้อมูลชนิด Variant ใช้เก็บข้อมูลได้ในทุกรูปแบบ นิยมใช้ในการเก็บค่าที่ไม่ทราบล่วงหน้าว่าจะเป็นข้อมูลชนิดใด ควรหลีกเลี่ยงการใช้ข้อมูลแบบนี้ เพราะตรวจสอบความผิดพลาดได้ยาก

ตัวอย่างการเขียนโปรแกรมแบบมีกำหนดตัวแปร
1. ให้เปิดฟอร์มใหม่ขึ้นมา
2. ให้ Double Click ที่ฟอร์มที่เปิด เลือกเหตุการณ์ Click เขียน Code ดังนี้

Private sub Form_Load( )
Dim Name As String

ประกาศตัวแปร

Dim Old As Byte
Dim Status As Boolead
Dim Salary As Currency
Dim BirthDay As Date

กำหนดค่าให้กับตัวแปร

Name = “สมชาย”
Old=20
Status=True
Salary=12000
BirthDay=”10/10/1984”

แสดงค่าตัวแปร โดยคำสั่ง Debug.Print ออกทางหน้าต่าง

Debug.Print Name
Debug.Print Old
Debug.Print Status
Debug.Print Salary
Debug.Print BirthDay

ตัวอย่างโปรแกรมที่เขียนด้วย ภาษา VB