วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553

กลยุทธการจัดการความรู้


กลยุทธการจัดการความรู้


“การจัดการ” ใน การจัดการความรู้ หมายถึง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับสภาพแวดล้อมว่าองค์กรมีความสามารถในการดำรงและ ตอบโต้ได้อย่างไร ความรู้เป็นทรัพยากรที่มีค่ายิ่งขององค์กร องค์กรที่เห็นความสำคัญของความรู้จะสร้างความรู้ที่เป็นเอกลักษณ์ ยากต่อการเลียนแบบและสามารถนำมาใช้ให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันที่ ยั่งยืน การสร้าง เก็บรักษา และยกระดับความรู้จะช่วยให้องค์กรมีความสำเร็จมากขึ้น

ความแตกต่างระหว่าง Data, Information, Knowledge
.......Data คือข้อเท็จจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง สามารถนำมาจัดหมวดหมู่และกระจายเผยแพร่โดยไม่ต้องคำนึงถึงบริบทหรือผู้ใช้


.......Information จะตรงกันข้ามกับ Data เพราะ Information จะคำนึงถึงบริบท Information อาจเป็น message หรือข่าวคราวซึ่งเป็นผลมาจากการนำ Data มาตีความ Information จึงเป็นเรื่องที่ผู้รับสามารถทำความเข้าใจและมีความหมายสำหรับผู้ใช้


.........Knowledge หรือความรู้ เกิดจากกระบวนการที่บุคคลนำ Information มาไตร่ตรอง ความรู้จึงเป็นสิ่งที่ต้องมีบุคคล ความเชื่อ และประสบการณ์ของบุคคลเป็นบริบท ความรู้จึงเป็นความสามารถที่บุคคลจะนำ Information มาประเมินและนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ความรู้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มถ้านำไปใช้ปฏิบัติ


ประเภทของความรู้


........Tacit Knowledge
คือ ความรู้เฉพาะของบุคคล ผูกติดอยู่กับตัวบุคคล เป็นการยากที่จะทำให้เป็นแบบเป็นแผนและสื่อสารออกไป ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ที่ที่จะแยก จัดเก็บ และขุดความรู้ทั้งหมดทั้งสิ้นที่มีอยู่ในบุคคลใดบุคคลหนึ่ง


........Explicit Knowledge
คือความรู้ที่สามารถจัดหมวดหมู่ รวบรวม จัดเก็บและกระจายเผยแพร่ออกไปได้ ไม่ผูกติดอยู่กับตัวบุคคลและมีลักษณะคล้ายจะกลายเป็น Data ความรู้ที่เรียกว่า Explicit Knowledge นี้มีรากฐานมาจาก Tacit Knowledge และถูกสร้างขึ้นโดยอาศัยกระบวนการถ่ายทอดส่วนหนึ่งของ Tacit Knowledge ที่อยู่ภายในบุคคลให้ออกมาอยู่ภายนอก ให้พอสามารถอธิบายได้ว่ามันคืออะไรแม้จะไม่ใช่ทั้งหมดขององค์ความรู้ที่มีอยู่ก็ตาม


กลยุทธ์การจัดการความรู้


.......มีกลยุทธ์ที่สำคัญในการนำ Tacit Knowledge และ Explicit Knowledge มาแบ่งปันกันอยู่สองกลยุทธ์ คือ


........Codification Strategy
มีวัตถุประสงค์ที่จะรวบรวมความรู้ จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูล และนำออกใช้อย่างเป็นหมวดหมู่ในรูปที่เป็น Explicit Knowledge ซึ่งการนำ Explicit Knowledge มา ใช้ซ้ำผ่านกระบวนการจัดการเช่นนี้จะสามารถประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย การออกแบบฐานข้อมูล การบริหารงานเอกสาร และสายการจัดการเพื่อการใช้ข้อมูล จัดเป็นส่วนหนึ่งของ Codification Strategy ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสำหรับองค์กรที่กลยุทธ์ทางธุรกิจมีความต้องการใช้ซ้ำความรู้ที่มีอยู่


........Personalization Strategy
เน้นที่การนำ IT มา ช่วยบุคคลสื่อสารความรู้ระหว่างกัน มีวัตถุประสงค์ที่จะถ่ายโอน สื่อสาร และแลกเปลี่ยนความรู้ผ่านเครือข่ายความรู้เช่นการอภิปราย หากองค์กรใดมีกลยุทธ์ทางธุรกิจที่จะสร้างคำตอบใหม่ๆหรือเป็นการเฉพาะให้กับ ลูกค้าหรือเป็นการสร้างนวัตกรรม องค์กรนั้นควรเลือกกลยุทธ์การจัดการความรู้ประเภท Personalization Strategy มากกว่า Codification Strategy


ตัวอย่างกลยุทธการจัดการความรู้


1. บางบริษัทที่มีวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงประสิทธิภาพในกระบวนการทำงานจะใช้ Codification Strategy เป็นหลัก ขณะเดียวกันก็ใช้การปรึกษาหารือหรือคุยข่าว (newsgroup) เป็นช่องทางให้พนักงานได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้และผลงานของตนกันได้โดยตรง เช่น การรวบรวมความรู้ จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูล และนำออกใช้อย่างเป็นหมวดหมู่ในรูปที่เป็น Explicit Knowledge

2.บางบริษัท ที่ต้องการใช้การจัดการความรู้เป็นฐานในกระบวนการจัดการนวัตกรรม ได้กระตุ้นการสร้างสรรและการแลกเปลี่ยนความรู้ให้เกิดขึ้นด้วยการส่งเสริม ให้บุคคลากรมีการสื่อสารและร่วมมือกัน เช่น การใช้ e-mail การใช้สื่อประเภท TV หรือ Video conference


3.บางบริษัท ที่ใช้การจัดการความรู้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการทำงาน จะใช้ฐานข้อมูลและระบบจัดการข้อมูลเพื่อการเผยแพร่หรือกระจายผลการทำงานจะใช้ เช่นKnowledge Database, Data Warehouse และ Document Management เป็นเทคโนโลยีหลัก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น