วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
โครงสร้างและปัจจัยประกอบของการจัดการความรู้
1. บุคลาการในองค์กร คือ ผู้ปฏิบติงานตามหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานหรือในองค์กร เช่นพนักงานตามบริษัทต่างๆ ที่ทำงานก็คือ บุคลากรในองค์กร
2. การจัดการในองค์กร คือ การกำหนดโครงสร้างขององค์กรอย่างเป็นทางการ โดยการจัดแบ่งออกเป็นหน่วยงานย่อย ๆ ต่าง ๆ กำหนดอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานไวให้ชัดเจน รวมทั้งความสัมพันธ์ของหน่วยงานย่อยเหล่านั้น ทั้งนี้เพื่อให้เอื้อต่อการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายวัตถุประสงค์ของ องค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การแบ่งงานตามหน้าที่หรือหน่วยงานต่างๆ จะทำให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการ
3. พื้นฐานทางกายภาพและเทคโนโลยี คือ การนำสิ่งที่อยู่รอบตัวของเรามาใช้ในการจัดการความรู้ในด้านเทคโนโลยี เช่น การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการความรู้ที่อยู่รอบตัวเรา
4. ข้อมูลข่าวสารและความรู้ต่างๆ คือ การนำความรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ โดยมีการกำหนดข้อมูลข่าวสารขึ้นมา เพื่อนำข้อมูลข่าวสารไปเผยแพร่ให้ความรู้กับผู้อื่น เช่น การแลกเปลี่ยนข่าวสาร ข้อมูลและความรู้ต่างๆให้กับผู้อื่น
วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ระดับความรู้
ความรู้เชิงทฤษฏี (Know-What) คือ เป็นความรู้เชิงข้อเท็จจริง รู้อะไร เป็นอะไร จะพบในผู้ที่สำเร็จการศึกษามาใหม่ๆ ที่มีความรู้โดยเฉพาะความรูที่จำมาได้จากความรู้ชัดแจ้งซึ่งได้จากการได้ เรียนมาก แต่เวลาทำงาน ก็จะไม่มั่นใจ
ตัวอย่าง การที่เราเรียนจบปริญญา เราจะต้องไปทำงาน ซึ่งตอนทำงานเราอาจไม่มั่นใจ เราจึงจะต้องปรึกษารุ่นพี่
ความรู้เชิงทฤษฏีและเชิงบริบท(Know-How) คือ เป็นความรู้เชื่อมโยงกับโลกของความเป็นจริง ภายใต้สภาพความเป็นจริงที่ซับซ้อนสามารถนำเอาความรู้ชัดแจ้งที่ได้มา ประยุกต์ใช้ตามบริบทของตนเองได้ตัวอย่าง พอเราทำงานไปนานๆ เราจะมีทักษะในการทำงานหรือประสบการณ์มากขึ้น
ความรู้ในระดับที่อธิบายเหตุผล (Know-Why) คือ เป็นความรู้เชิงเหตุผลระหว่างเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆ ผลของประสบการณ์แก้ปัญหาที่ซับซ้อน และนำประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น
ตัวอย่าง พอเราทำงานมาระยะหนึ่งแล้ว เราสามารถแลกเปลี่ยนความรู้ความสามารถกับผู้อื่นได้ และพร้อมรับความรู้ของผู้อื่นด้วย
ความรู้ในระดับคุณค่า ความเชื่อ (Care-Why) คือ เป็นความรู้ในลักษณะของความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ที่ขับดันมาจากภายในตนเองจะเป็นผู้ที่สามารถสกัด ประมวล วิเคราะห์ความรู้ที่ตนเองมีอยู่ กับความรู้ที่ตนเองได้รับมาสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมาได้
ตัวอย่าง พอเราทำงานจนชำนาญแล้ว เราสามารถสร้างทฤษฏีใหม่หรือนวัตกรรม ขึ้นมาใช้ในการทำงานได้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)